หน้าหลัก > ข่าวและประกาศ > คุณเป็น คนฟังแบบไหน ?
คุณเป็น คนฟังแบบไหน ?
คุณเป็น คนฟังแบบไหน ?
28 Aug, 2021 / By agong-ama
Images/Blog/n6XgvZhu-AgongAma-Content-10 (1).jpg

คุณเป็นคน “ฟัง” แบบไหน?

อากงอาม่าอยากชวนทุกคนมา “สำรวจท่าทีการฟังของตัวเอง” กันสักเล็กน้อย

ถามว่า... ทำไมเราถึงหยิบเรื่อง “การฟัง” มาพูดในวันนี้?

เรามองว่าการฟังคือหนึ่งในการสานความสัมพันธ์ที่ดี “การฟังเสมือนการสร้างพื้นที่ปลอดภัย” พื้นที่นั้นอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เป็นพื้นที่กว้างใหญ่แต่สัมผัสได้ ไม่เชื่อคุณลองนึกถึงใครสักคนที่ทำให้เรารู้สึกอบอุ่นหัวใจเวลาได้แบ่งปันเรื่องราวต่างๆ “แววตาที่จริงใจ การพยักหน้าที่เป็นการสื่อว่าเข้าใจ เสียงตอบอืมเบาๆ ไม่พูดขัดหรือพูดแทรก จนทำให้บรรยากาศชิลๆ เป็นกันเองสุดๆ”

ทั้งนี้ก่อนจะไปสำรวจท่าทีการฟังของตัวเอง ต้องรู้จักการสำรวจ “บทบาทของคนเล่า” ก่อนด้วยว่าเขาเป็นใคร?

เช่น เขาเป็นคนที่เราไม่รู้จักมากนัก เขาเป็นเพื่อน เขาเป็นคนสนิท หรืออื่นๆ

หลังจากนี้เราเริ่ม “ฟังเสียงภายในใจของเรา” ว่าเราคาดหวังสิ่งใด เช่น...

เราต้องการให้เขาระบาย (คือคุณจะแค่เป็นผู้ฟังที่ดีเท่านั้น)

เราต้องการให้เขาแก้ปัญหาได้ (คุณต้องสามารถช่วยตั้งคำถามให้เขาฉุกคิด เพื่อให้เขาหาทางออกด้วยปัญญาของเขาเอง)

หรือเราต้องการช่วยให้เขาทุกข์น้อยลง (ซึ่งคุณอาจต้องมีคำพูดปลอบใจ หรือทำให้เรื่องนั้นมันจบสวยๆ ไปในทิศทางของมันเอง)

เช็กหน่อย! การฟังของคุณเป็นแบบไหน? ใช่ “การฟังด้วยหัวใจ” ไหม...

ต้องบอกก่อนว่า ไม่มีแบบไหนดีกว่าแบบไหน เป็นเพียงการสะท้อนให้คุณเห็นถึงโฟกัสของตนเองก็เท่านั้น ไปหาคำตอบพร้อมกันค่ะ

1 ฟังเหมือนภูเขา ⛰

แน่นอนว่าภูเขาทั้งหนักแน่นและมั่นคง ลมจะเย็นหรือพายุจะพัดกระหน่ำแค่ไหน ภูเขาก็ยังคงนิ่งเป็นพื้นที่กว้างให้ผู้คนมาอาศัยอยู่ แถมข้างในภูเขายังมีความอุดมสมบูรณ์มาให้คนเหล่านั้นด้วย

2 ฟังเหมือนต้นไม้ 🌳

คุณต้นไม้ใหญ่เปรียบเหมือนสถานที่ผู้คนสามารถเข้ามาแวะพักพิงยามเหนื่อยล้า แวะมารดน้ำต้นไม้ แวะมาปลูกดอกไม้ ทั้งนี้ก็ยังมีลำธารเล็กๆ ไว้ให้สำหรับใครที่อยากเล่นน้ำให้เย็นชื่นใจก่อนกลับ

3 ฟังเหมือนพื้นที่ว่าง 🚀

ที่แห่งนี้มีไว้เพื่อคนที่มีความทุกข์มากๆ ชีวิตนี้ยังหาทางออกไม่ได้จากห้องรกๆที่อยู่ไม่ได้เลย คุณสามารถเขามาเพื่อหยิบยืม พื้นที่ว่างๆได้ ถ่ายเทเรื่องราวต่างๆออกมากองไว้ได้เต็มที่ แล้วหลังจากนั้นคุณค่อยเลือกอีกทีได้ว่าอยากจะเก็บข้าวของชิ้นไหนกลับ หรือทิ้งชิ้นที่ไม่ต้องการไว้ก็ทำได้เช่นกัน

4 ฟังเหมือนสักขีพยาน 👥

พยานจะปรากฎตัวขึ้นทุกครั้งในเหตุการณ์ จึงรับรู้ถึงประสบการณ์หรือความทุกข์จริงๆแบบเชิงลึก

5 ฟังเหมือนภาชนะ 🫖

ขึ้นอยู่ว่าภาชนะจะเล็กหรือใหญ่ก็พร้อมที่จะรองรับทุกอารมณ์ความรู้สึก แต่จะชอบไม่เก็บเอาไว้ เลยมีจุกด้านล่างเมื่อต้องระบายเรื่องราวต่างๆที่ได้ฟังออกมาบ้าง จะพยายามไม่สะสมเรื่องของแต่ละคนปนกันรับฟังใหม่ก็ไม่เอาเรื่องเก่ามาคิดในใจ

จะเห็นเลยว่า แต่ละคน (ฟัง) มีจุดเด่นและธรรมชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าเราฝึกฝนจนเข้าใจตัวเองมากขึ้น มันจะช่วยให้เราฟังได้ดีตามไปด้วย แต่จะบอกว่าถ้าวันไหนพบว่า...การฟังทำให้เราเหนื่อยล้าเหลือเกิน เราสามารถที่จะปล่อยตัวปล่อยใจไปกับความรื่นเริงอื่นๆได้

ไม่ควรฝืนใจของตนเอง เพราะความรู้สึกเหล่านั้นจะทำให้การฟังของคุณแย่ลงโดยไม่รู้ตัวอยู่ดีค่ะ 🙂 พักสักหน่อยแล้วค่อยมาก็ไม่สายไปค่ะ

#อากงอาม่า #AgongAma

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.